วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่6

22 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่1 
                   อาจารย์ให้นำเสนอ แผนผังความคิดการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีหัวข้อ สื่อ กิจกรรม เทคนิค ซึ่งทั้ง 3 หัวข้อต้องสอดคล้องกัน โดยฉันเองก็ได้หาข้อมูลมาเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจในการจะจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ดังนี้
                   
                 การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยนั้น มีความแตกต่างจากการเรียนคณิตศาสตร์ใน ระดับอื่น ๆ เพราะพัฒนาการของเด็กนั้นต่างจากวัยอื่น ซึ่งคุณครูหรือผู้ปกครองควรตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
เพราะนอกจากจะใช้สถานการณ์ในชีวิตประจำวันแล้ว ยังต้องอาศัยการเตรียมการและวางแผนอย่างดี เพื่อให้เด็กได้มี โอกาสค้นคว้าแก้ปัญหา เรียนรู้การพัฒนาความคิดรวบยอด และสิ่งที่สำคัญคณิตศาสตร์ไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับทักษะ ทางคำนวณแต่เพียงอย่างเดียว หรือไม่ได้มีความหมายเพียงตัวเลขสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ยังช่วยส่งเสริมการสร้างและใช้หลักการรู้จักการคาดคะเน ช่วยในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และจากความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรส่งเสริมให้เด็กได้คิดอย่างอิสระบนความสมเหตุสมผล ไม่จำกัดว่าการคิดคำนวณต้องออกมาเพียงคำตอบเดียวหรือมีวิธีการเดียว
เด็กต้องเรียนรู้อย่างมีความสุขจากสื่อที่เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม (ถ้าใช้สื่อเป็นของจริงได้ก็จะยิ่งดีค่ะ) เพราะเด็กในวัยนี้จะเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสการรับรู้และการเคลื่อนไหว และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาในการจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสให้มากที่สุด เพราะจะช่วยกระตุ้นให้เด็กได้คิดและได้ลงมือปฏิบัติจริง
คณิตศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ศาสตร์อื่น ๆ การได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ทำให้เด็กมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุมีผล และใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างดี ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของเด็กต่อไป

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ประกอบด้วย

การจำแนกประเภท คือการฝึกฝนให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งต่าง ๆ ว่ามีความเหมือนและต่างกันอย่างไร จึงสามารถจัดประเภทได้
การจัดหมวดหมู่ คือการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับสิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรืออยู่ประเภทเดียวกัน
การเรียงลำดับ คือการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดดินสอ 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำหรือจากสั้นไปยาว
การเปรียบเทียบ คือเด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้ คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า เบากว่า สูงกว่า ฯลฯ
รูปทรง คือให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส วงรี สี่เหลี่ยมผืนผ้า ฯลฯ ผ่านการจับของเล่นหรือสิ่งของรอบตัว
พื้นที่ คือการให้เด็กได้รู้จักความตื้น - ลึก, กว้าง - แคบ ของสิ่งต่าง ๆ
การชั่งตวงวัด คือให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเองให้รู้จักความยาว และระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาก่อน
การนับ คือคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่  1 – 10 หรือมากกว่านั้น
การรู้จักตัวเลข คือการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็น หรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยอาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
การรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข คือการเริ่มให้เด็กจับคู่ทีละหนึ่งก่อน จากนั้นค่อยเพิ่มจำนวน ตัวอย่างเช่น กิจกรรมลูกปัดไม้จำนวนในการทำกิจกรรมคือ มีบัตรตัวเลข 0 - 10 วางลูกปัดไม้ไว้เป็นกลุ่ม โดยคละจำนวนให้เด็กนับลูกปัดแต่ละกลุ่ม และนำบัตรตัวเลขไปวางตามจำนวนของลูกปัดแต่ละกลุ่มที่นับจำนวนได้ เป็นต้น
เวลา คือ การเรียนรู้จักเวลาง่าย ๆ การเรียนรู้เรื่องเข็มสั้นบอกชั่วโมง เข็มยาวบอกนาที และตัวเลข 1 - 12 ถ้าจะสอนเรื่องนาทีขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละบุคคลค่ะ
การเพิ่มและการลดจำนวน คือ การหาผลบวกและลบ ไม่เกิน 5 10 15 20 25 ฯลฯ เพิ่มจำนวนความยาก - ง่าย ตามความเหมาะสมกับความพร้อมของเด็ก

ภาพกิจกรรมการนำเสนอ





กิจกรรมที่2 
                 อาจารย์ให้นั่งกระจายกัน แล้วแจกกระดาษขาวเทา แล้วตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จากนั้นนั่งเป็นวงกลม เมื่อทุกคนได้กระดาษคนละแผ่นแล้ว อาจารย์ให้เพื่อนแจกดินน้ำมันคนละก้อน เลือกสีที่ตัวเองอยากได้ จากนั้นอาจารย์ให้ปั้นเป็นรูปทรงเรขาคณิตแล้วแต่ว่าใครอยากปั้นรูปใดโดยมีข้อแม้ว่าต้องปั้นให้เป็นสามมิติ คือต้องสามารถมองได้รอบด้าน เพื่อนๆก็ปั้นหลายรูปทรง มีทั้ง สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัส สามเหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม ทรงกลม ทรงรี จากนั้น อาจารย์ให้นำไม้จิ้มฟันที่ให้เตรียมมา มาใช้ในการสร้างรูปทรงเราขาคณิตให้ดูมีมิตมากขึ้นโดยการใช้ไม้จิ้มฟันช่วย แต่ที่ไม่สามารถใช้ไม้จิ้มฟันได้ก็คือ ทรงกลมและทรงรี เพราะเป็นรูปที่ไม่มีมุม เกิดจากไข่ปลาเล็กๆเรียงต่อกัน ทำให้ไม่สามารถเป็นสามมิติได้ 
รูปกิจกรรม






 เมื่อจบกิจกรรมที่ 2 อาจารย์ก็ให้นำกระดาษที่ให้เตรียมมา เขียนชื่อตัวเองโดยให้อิสระในการออกแบบตัวอักษร การตกแต่ง แล้วอาจารย์ก็อธิบายในส่วนของกิจกรรมว่า ในการออกแบบนี้ก็สามารถนำมาใช้จัดเป็นกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ได้ โดยใช้เกณฑ์ในการจำแนก อาจจะเป็นการใช้สี หรือตัวอักษร


คำศัพท์1. Activities         กิจกกรม2. Investigate    ตรวจสอบ3. Media              สื่อ4. Technique        เทคนิค5. Sex                  เพศ6. Present            นำเสนอ7. Name tag        ป้ายชื่อ8. Tale                 นิทาน9. Compare         เปรียบเทียบ10. Survey            สำรวจ

การประเมิน
                    ประเมินตนเอง- ในการทำกิจกรรมวันนี้ทำให้รู้ว่า ในการจัดกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่เด็กจะได้พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ
                    ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆในบางช่วงของกิจกรรมอาจจะยังไม่เข้าใจในกระบวนการแต่ทุกคนในห้องก็ช่วยกันคิดจนได้ข้อสรุปและดำเนินกิจกรรมต่อได้
                   ประเมินอาจารย์ - อาจารย์ช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องของอุปกรณ์ และในระหว่างทำกิจกรรมก็มีการอธิบายความหมายในสิ่งที่ทำตลอดเพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น