วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

นำเสนอสื่อการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์

          

( กราฟเส้น )


   วันนี้เป็นวันกำหนดส่งงาน เพื่อตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข ซึ่งในการสร้างสื่อครั้งนี้ก็มีข้อเสนอแนะที่อาจารย์ได้แนะนำมา เช่น ตัวหนังสือมีขนาดใหญ่ เส้นของกราฟที่แสดงความถี่ควรจะมีเพราะเด็กยังไม่สามารถกะระยะได้ หมวดหมู่ที่จะนำมาติดควรมีความแข็งแรง ไหมพรมที่จะนำมาเป็นเส้นกราฟควรมีความยาวที่พอดี ตัวเลขควรเป็นเลขที่เป็นลำดับ ควรมีสรุปสถิติ และสุดท้ายควรมีกล่องเก็บให้เรียบร้อยและประหยัดพื้นที่ เพราะในห้องของครูอนุบาลจะเต็มไปด้วยสื่อมากมาย เราต้องทำอย่างไรก็ได้ให้สื่อทุกอย่างเป็นระเบียบ ใช้ง่ายและเก็บง่าย 




คำศัพท์

1.Relationship          ความสัมพันธ์
2.observance            การสังเกต
3.Skills                     ทักษะ
4.Creativity              ความคิดสร้างสรรค
5.Set                         กำหนด
6.Equipment            อุปกรณ์
7.Step                       ขั้นตอน
8.Present                  นำเสนอ
9.Number                ตัวเลข
10.Modify                แก้ไข

การประเมิน
ประเมินตนเอง - รู้จักยอมรับในข้อผิดพลาดคำวิพากวิจารณ์ และพร้อมปรับปรุงแก้ไข
ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆส่วนมากก็มีทั้งที่ต้องเพิ่มเติม เพื่อนก็น้อมรับและยินดีปรับปรุงแก้ไข
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์ช่วยติชมในงานพร้อมทั้งบอกประโยชน์ของสื่อตลอด ทำให้นักศึกษาเห็นภาพและเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สื่อสาร

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่อาจารย์ให้ลงมือทำสื่อ ซึ่งเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยกลุ่มของฉันได้สื่อการเรียนรูั "กราฟเส้น" ซึ่งมีอุปกรณ์และวิธีการทำดังนี้

อุปกรณ์

1.ฟิวเจอร์บร์อด
2.กระดาษแข็งสีต่างๆ
3.กาว
4.กรรไกร/คัตเตอร์
5.สี
6.ไหมพรม
7.ลวดไหมพรม
8ตีนตุ๊กแก
9.คำศัพท์/ตัวการ์ตูน

วิธีทำ

1.ตัดกระดาษเป็นเส้นกราฟ และตัวเลข 0-13 
2.วัดระยะให้ความห่างของเส้นกราฟให้อยู่กึ่งกลางฟิวเจอร์บอร์ด
3.ติดกาวเส้นกราฟและตัวเลข
4.ลากเส้นเป็นระยะห่างของเส้นให้เท่ากัน
5.เจาะรูเพื่อเตรียมนำลวดไหมพรมทิ่มลงฟิวเจอร์บอร์ดเพื่อเป็นจุดบอกว่ากราฟอยู๋ที่จุดใด
6.นำตัวการ์ตูนหรือคำศัพท์มาติดตามหัวข้อ
7.พันไหมพรมกับลวดไหมพรมเพื่อให้เกิดเส้นกราฟ
8.ตกแต่งให้สวยงาม


ภาพกิจกรรม








สิ่งที่ได้รับในการทำกิจกรรมนอกห้องเรียน คือ ได้ช่วยกันระดมความคิด การวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน เพราะหากทำโดยไร้การวางแผนอาจทำให้งานไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ อีกทั้งยังได้เห็นความสามัคคีของเพื่อนกลุ่มของตนและเพื่อนกลุ่มอื่นด้วย



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8


วันนี้ไม่ใช่วันที่มีการเรียนการสอนแต่อาจารย์ได้นัดให้มารับอุปกรณ์สำหรับการทำสื่อทางคณิตศาสตร์ที่ได้เลือกไว้ โดยให้ทั้งสองกลุ่มเรียนมารับพร้อมๆกันเพื่อเช็คดูว่ากลุ่มไหนต้องการอุปกรณ์ใดหรืออุปกรณ์ กลุ่มใดที่ยังไม่ครบ เมื่อรับอุปกรณ์เสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้พูดคุยและกำหนดวันส่งงานเพื่อเช็คดูความเรียบร้อยในรอบแรก และอาจารย์จะเน้นย้ำอยู่เสมอว่าเราเป็นครูอนุบาลของทุกอย่างต้องประหยัดและใช้ให้คุ้มค่า

ภาพบรรยากาศ





 เมื่อรับเสร็จก็แยกย้าย ไปวางแผนการทำงานของแต่ละกลุ่ม




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2562

สิ่งที่ได้จากการเรียน

                               การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปฎิบัติการลงมือกระทำด้วยตนเองหรือเรียกว่า "วิธีการของเด็ก" และเมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้จะทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก แต่ถ้าเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าเด็กแค่ รับรู้ ไม่ใช่เกิดการเรียนรู้ ฉะนั้นวิธีที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับเด็กก็คือ การเล่นเพราะการเล่นจะทำให้เกิดการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอด และการเล่นนั้นก็จะเกิดความสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการคิดของเด็กปฐมวัยก็คือ ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์ ซึ่งฉันก็ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้มาเข้าชมดังนี้
                             

         
            เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ พัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญาซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่าสามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว 
              อย่างไรก็ตามเพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น 
             เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม

หลักพัฒนาการตามแนวคิด
       เพียเจต์ ให้ชื่อการพัฒนาการของเด็กวัยรุ่นหรือวัยมัธยมศึกษาว่า Formal Operation สามารถคิดได้แบบผู้ใหญ่ คือ
       -      คิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมได้         
       -      มีความสนใจในปรัชญาชีวิต ศาสนา อาชีพ
       -      สามารถใช้เหตุผลเป็นหลักในการตัดสินใจ
       -      สามารถคิดเหตุผลได้ทั้งอนุมานและอุปมาน
       -      มีหลักการในการให้เหตุผลของตนเอง เกี่ยวกับความยุติธรรม เสมอภาคและมีมนุษยธรรม

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้ 
                พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.   ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
2.   ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2ขั้น คือ
                - ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผล เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
                 - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ
3.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)  เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
4.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)   เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่
              พัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่ 
1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น 
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่ 
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสอง ปลาย เช่น ปานกลาง น้อย 
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้ 
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง 
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน

กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็น ระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล

การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ     
- ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่างในสภาพแวดล้อมโดยตรง
ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม

หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่
เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง

การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้
ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น
ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ
เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง
ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร
ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning)

ในขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้
มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ
ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อนร่วมชั้น

กิจกรรมที่ 2
     อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3  คน แต่จะมีหนึ่งกลุ่มที่จะได้อยู่ 2 คน กิจกรรมนี้อาจารย์ให้เลือกทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์กำหนดสื่อมาให้เลือกแต่ละกลุ่มเลือกได้ดังนี้กลุ่มที่ 1 เรื่องตัวเลขกลุ่มที่ 2 จำนวนกลุ่มที่ 3 การวัดกลุ่มที่ 4 กราฟแท่งกลุ่มที่ 5 กราฟเส้นกลุ่มที่ 6 ความสัมพันธ์สองแกนกลุ่มที่ 7 คานดีดจากไม้ไอติมกลุ่มที่ 8 ร้อยลูกปัดฝาขวดกลุ่มที่ 9 บวกเลขจากภาพ
คำศัพท์
1.    Sensori                      ประสาทรับรู้
2. Concrete Operation      ปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม
3.  Formal Operational     ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม
4.Opposition                     ตรงกันข้าม
5.Assimilation                   ซึมซับ
6. Accommodation            ปรับและจัดระบบ
7. Equilibration                 ความสมดุล
8.Subject                           สาระ
9.Behavior                        พฤติกรรม
10. Development              พัฒนาการ

การประเมิน
                   ประเมินตนเอง - ได้ทบทวนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการคิดเพราะคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับการทำงานทางสติปัญญา
                   ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆช่วยกันตอบและหาข้อมูล มีความรู้ในทฤษฎี
                    ประเมินอาจารย์  - อาจารย์เน้นย้ำในเรื่องที่สำคัญให้นักศึกษาตระหนักอยู่เสมอ มีความเป็นห่วง และอำนวยความสะดวกพร้อมให้คำแนะนำที่ดี

บันทึกการเรียนครั้งที่6

22 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่1 
                   อาจารย์ให้นำเสนอ แผนผังความคิดการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีหัวข้อ สื่อ กิจกรรม เทคนิค ซึ่งทั้ง 3 หัวข้อต้องสอดคล้องกัน โดยฉันเองก็ได้หาข้อมูลมาเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจในการจะจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ดังนี้
                   
                 การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยนั้น มีความแตกต่างจากการเรียนคณิตศาสตร์ใน ระดับอื่น ๆ เพราะพัฒนาการของเด็กนั้นต่างจากวัยอื่น ซึ่งคุณครูหรือผู้ปกครองควรตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
เพราะนอกจากจะใช้สถานการณ์ในชีวิตประจำวันแล้ว ยังต้องอาศัยการเตรียมการและวางแผนอย่างดี เพื่อให้เด็กได้มี โอกาสค้นคว้าแก้ปัญหา เรียนรู้การพัฒนาความคิดรวบยอด และสิ่งที่สำคัญคณิตศาสตร์ไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับทักษะ ทางคำนวณแต่เพียงอย่างเดียว หรือไม่ได้มีความหมายเพียงตัวเลขสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ยังช่วยส่งเสริมการสร้างและใช้หลักการรู้จักการคาดคะเน ช่วยในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และจากความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรส่งเสริมให้เด็กได้คิดอย่างอิสระบนความสมเหตุสมผล ไม่จำกัดว่าการคิดคำนวณต้องออกมาเพียงคำตอบเดียวหรือมีวิธีการเดียว
เด็กต้องเรียนรู้อย่างมีความสุขจากสื่อที่เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม (ถ้าใช้สื่อเป็นของจริงได้ก็จะยิ่งดีค่ะ) เพราะเด็กในวัยนี้จะเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสการรับรู้และการเคลื่อนไหว และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาในการจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสให้มากที่สุด เพราะจะช่วยกระตุ้นให้เด็กได้คิดและได้ลงมือปฏิบัติจริง
คณิตศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ศาสตร์อื่น ๆ การได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ทำให้เด็กมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุมีผล และใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างดี ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของเด็กต่อไป

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ประกอบด้วย

การจำแนกประเภท คือการฝึกฝนให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งต่าง ๆ ว่ามีความเหมือนและต่างกันอย่างไร จึงสามารถจัดประเภทได้
การจัดหมวดหมู่ คือการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับสิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรืออยู่ประเภทเดียวกัน
การเรียงลำดับ คือการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดดินสอ 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำหรือจากสั้นไปยาว
การเปรียบเทียบ คือเด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้ คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า เบากว่า สูงกว่า ฯลฯ
รูปทรง คือให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส วงรี สี่เหลี่ยมผืนผ้า ฯลฯ ผ่านการจับของเล่นหรือสิ่งของรอบตัว
พื้นที่ คือการให้เด็กได้รู้จักความตื้น - ลึก, กว้าง - แคบ ของสิ่งต่าง ๆ
การชั่งตวงวัด คือให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเองให้รู้จักความยาว และระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาก่อน
การนับ คือคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่  1 – 10 หรือมากกว่านั้น
การรู้จักตัวเลข คือการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็น หรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยอาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
การรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข คือการเริ่มให้เด็กจับคู่ทีละหนึ่งก่อน จากนั้นค่อยเพิ่มจำนวน ตัวอย่างเช่น กิจกรรมลูกปัดไม้จำนวนในการทำกิจกรรมคือ มีบัตรตัวเลข 0 - 10 วางลูกปัดไม้ไว้เป็นกลุ่ม โดยคละจำนวนให้เด็กนับลูกปัดแต่ละกลุ่ม และนำบัตรตัวเลขไปวางตามจำนวนของลูกปัดแต่ละกลุ่มที่นับจำนวนได้ เป็นต้น
เวลา คือ การเรียนรู้จักเวลาง่าย ๆ การเรียนรู้เรื่องเข็มสั้นบอกชั่วโมง เข็มยาวบอกนาที และตัวเลข 1 - 12 ถ้าจะสอนเรื่องนาทีขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละบุคคลค่ะ
การเพิ่มและการลดจำนวน คือ การหาผลบวกและลบ ไม่เกิน 5 10 15 20 25 ฯลฯ เพิ่มจำนวนความยาก - ง่าย ตามความเหมาะสมกับความพร้อมของเด็ก

ภาพกิจกรรมการนำเสนอ





กิจกรรมที่2 
                 อาจารย์ให้นั่งกระจายกัน แล้วแจกกระดาษขาวเทา แล้วตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จากนั้นนั่งเป็นวงกลม เมื่อทุกคนได้กระดาษคนละแผ่นแล้ว อาจารย์ให้เพื่อนแจกดินน้ำมันคนละก้อน เลือกสีที่ตัวเองอยากได้ จากนั้นอาจารย์ให้ปั้นเป็นรูปทรงเรขาคณิตแล้วแต่ว่าใครอยากปั้นรูปใดโดยมีข้อแม้ว่าต้องปั้นให้เป็นสามมิติ คือต้องสามารถมองได้รอบด้าน เพื่อนๆก็ปั้นหลายรูปทรง มีทั้ง สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัส สามเหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม ทรงกลม ทรงรี จากนั้น อาจารย์ให้นำไม้จิ้มฟันที่ให้เตรียมมา มาใช้ในการสร้างรูปทรงเราขาคณิตให้ดูมีมิตมากขึ้นโดยการใช้ไม้จิ้มฟันช่วย แต่ที่ไม่สามารถใช้ไม้จิ้มฟันได้ก็คือ ทรงกลมและทรงรี เพราะเป็นรูปที่ไม่มีมุม เกิดจากไข่ปลาเล็กๆเรียงต่อกัน ทำให้ไม่สามารถเป็นสามมิติได้ 
รูปกิจกรรม






 เมื่อจบกิจกรรมที่ 2 อาจารย์ก็ให้นำกระดาษที่ให้เตรียมมา เขียนชื่อตัวเองโดยให้อิสระในการออกแบบตัวอักษร การตกแต่ง แล้วอาจารย์ก็อธิบายในส่วนของกิจกรรมว่า ในการออกแบบนี้ก็สามารถนำมาใช้จัดเป็นกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ได้ โดยใช้เกณฑ์ในการจำแนก อาจจะเป็นการใช้สี หรือตัวอักษร


คำศัพท์1. Activities         กิจกกรม2. Investigate    ตรวจสอบ3. Media              สื่อ4. Technique        เทคนิค5. Sex                  เพศ6. Present            นำเสนอ7. Name tag        ป้ายชื่อ8. Tale                 นิทาน9. Compare         เปรียบเทียบ10. Survey            สำรวจ

การประเมิน
                    ประเมินตนเอง- ในการทำกิจกรรมวันนี้ทำให้รู้ว่า ในการจัดกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่เด็กจะได้พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ
                    ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆในบางช่วงของกิจกรรมอาจจะยังไม่เข้าใจในกระบวนการแต่ทุกคนในห้องก็ช่วยกันคิดจนได้ข้อสรุปและดำเนินกิจกรรมต่อได้
                   ประเมินอาจารย์ - อาจารย์ช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องของอุปกรณ์ และในระหว่างทำกิจกรรมก็มีการอธิบายความหมายในสิ่งที่ทำตลอดเพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจ


วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562


วันศุกร์ ที่15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562




ความรู้ที่ได้รับ


  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนเข้าชมนิทรรศการของพี่ๆชั้นปีที่ ที่ได้ออกฝึกสอนตามโรงเรียนต่างๆ โดยมีการนำสื่อการเรียนรู้ แผนการจัดประสบการณ์ โครงการในที่เด็กสนใจ นำมาถ่ายทอดให้รุ่นน้องได้ชมว่าพีื่ๆได้ไปทำอะไรและเป็นอย่างไร ซึ่งนิทรรศการมีดังนี้


นิทรรศการที่1การวิจัยในชั้นเรียน

    กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านประกอบการใช้เชือกพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กอนุบาล 1/2 โรงเรียนวัดนวลจันทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร

   การวิจัยนี้สามารถนำไปใช้และได้ผลกับเด็ก คือ ความสามารถในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพซึ่งก่อนเรียนจะมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้เพราะก่อนหน้านี้เด็กๆไม่ค่อยได้ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่เท่าไหร่จึงทำให้กล้ามเนื้อไม่เกิดความคล่องตัว
   
   จากกิจกรรมนี้สิ่งที่เด็กได้รับคือ แขนและขามีความคล่องแคล่วในการใช้งานมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้พัฒนาการทางด้านสังคมในการเคารพกติกา ข้อตกลง และการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น 




นิทรรศการที่2 การสอนแบบไฮสโคป

         
    ไฮสโคป. เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ. จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง

        แนวการสอนแบบไฮสโคป ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ

1.การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
2.การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
3.การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง






นิทรรศการที่3 โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักค่านิยม  12 ประการ.  
Best Practices รายงานผลการปฎิบัติงานที่เป็นเลิศ ระดับเด็กปฐมวัย

       จากการได้เข้าไปชมสิ่งที่ได้คือได้รู้ค่านิยมของคนไทย 12ประการ ได้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย อย่างเช่น จิ๊กซอว์หรรษา  บันไดคุณธรรม ลูกเต๋ามหัศจรรย์ ศิลปะสร้างสรรค์เด็กมีคุณธรรม  ทายปริศนา หนังสือเล่มใหญ่เรียงร้อยค่านิยมหลัก  ดนตรีบรรเลงบทเพลงค่านิยม วงล้อมหาสนุก รถไฟพาเพลิน 







 นิทรรศการที่3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบโครงการ
 Project Approach

         การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้
   สิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบโครงการ  Project Approach ซึ่งเรื่องที่พี่ๆนำมาเสนอแล้วเล่าให้ฟัง อย่างเช่น เรื่องที่หนูอยากเรียนซื่งให้เด็กแสดงความคิดเห็นก่อนและก็ได้เรื่องฟาร์มมากที่สุดจะเกี่ยวกับกิจกรรมที่เด็กๆอยากทำเกี่ยวกับฟาร์ม สำรวจฟาร์มที่เด็กๆชอบ    องค์ประกอบของฟาร์ม ประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับฟาร์มและอีกโครงการหนึ่งคือ ใบไม้เริงร่า สิ่งเหล่านี้ทำให้เรารู้ขั้นตอนในการดำเนินโครงการเพื่อจะเก็บไว้เป็นความรู้ของตนเองในระยะยาว










นิทรรศการที่4 โครงการฟาร์มของพ่อหลวง

        เป็นการจัดประสบการณ์จำลองทำให้เสมือนจริงอย่างเช่น มีม้า กองฟาง ต้นข้าว ดวงอาทิตย์ สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำมาจากสิ่งของที่เหลือใช้นำมาดัดแปลงเป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับเด็ก







          จากการที่ได้เข้าชมนิทรรศการครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากเพราะประสบการณ์ที่พี่ๆได้รับมาจะทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้ได้เมื่อเราเป็นครูในอนาคต ซึ่งความรู้ที่ได้รับทั้งเรื่องการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมต่างๆ การจัดโครงการล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำเพื่อเด็ก  
       หลังจากชมนิทรรศการเสร็จอาจารย์ให้มารวมกันแล้วมอบหมายงานชิ้นต่อไปให้นักศึกษาอย่างชัดเจน 



  คำศัพท์

1.Classroom research   การวิจัยในชั้นเรียน
2.Plan                 การวางแผน
3.Practice             การปฎิบัติ
4.Review               การทบทวน
5.Exhibition           นิทรรศการ
6.Project Approach     การสอนแบบโครงการ
7.Experience arrangement   การจัดประสบการณ์
8.Values              ค่านิยม
9.The area            พื้นที่
10.Equipment          วัสดุอุปกรณ์



การประเมิน

ประเมินตนเอง  ในการชมนิทรรศการของพี่ๆทำให้ตัวเองรู้สึกว่าต้องพัฒนามากขึนในหลายๆด้านเพราะในการสอน การฝึกประสบการณ์ ต้องอาศัยทักษะหลายอย่าง

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง  เพื่อนๆแต่ละคนมีความสนใจในเรื่องที่แตกหลายอย่าง

ต่างกันไปและมีความตั้งใจที่จะเก็บเกี่ยวความรู้จากที่พี่ๆถ่ายทอดผ่านประสบการณ์ที่พี่ๆไปเจอมาหลังการฝึกสอน

ประเมินอาจารย์  อาจารย์ให้ความสำคัญกับพี่ๆที่ไปฝึกประสบการณ์มาโดยมอบหมายให้ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้นั้นให้น้องๆฟัง