วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

    วันนี้เป็นการเข้าคลาสวันสุดท้ายก่อนจบเทอม โดยเนื้อหาในการเรียนรู้วันนี้สืบเนื่องจากที่อาจารย์ได้ให้นักศึกษา ไปสรุปแผนผังความคิดเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์มา พอมาถึงห้องอาจารย์ก็เรียกให้ส่งใบงานที่อาจารย์สั่ง จากนั้นอาจารย์ก็พูดเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย ว่า การเล่น คือวิธีการที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5เพื่อการเรียนรู้เพราะเด็กจะเรียนรู้ได้ดีต้องผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรม  และจะทำให้มีโอกาสพัฒนาทักษะต่างๆไปพร้อมๆกัน เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของสมอง ที่อาจารย์ต้องบอกเช่นนี้ก็เพราะว่าอาจารย์ต้องการให้เราสามารถตอบคำถามกับผู้ปกครองได้ว่า เรามีวิธีการอย่างไรให้เด็กเกิดการเรียนรู้หรือใช้เครื่องมืออะไร เพราะว่าเด็กในช่วง 3 - 6ปี จะเป็นช่วงที่สมองมีการเติบโตมากที่สุดถึง 80 เปอร์เซ็นจริญเเต่ว่าจะช้า และในการเจริญของสมองนั้นต้องเป็นการเจริญอย่างมีคุณภาพ เรียนรู้ ซึมซับ ปรับโครงสร้าง หลังจากนั้นก็ยังมีการโยงไปถึง EF คือการทำงานของสมองส่วนหน้า ที่เป็นกระบวนการคิดเชิงบริหาร ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในคนศรรตวรรษที่ 21 คือการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
       ต่อมาอาจารย์ก็ได้พูดถึงกระบวนการในการแตกแผนผังความคิด เพราะสามารถช่วยให้เราพัฒนาการคิด จากเนื้อหาเยอะๆ เรามาสรุปให้เหลือหน้าเดียวควรทำอย่างไร  ซึ่งอาจารย์ก็ได้ให้แนวทางว่า ในการแตกแผนผังนั้นต้องวนไปทางขวา เส้นไม่ต้องยาว เพื่อที่ว่าในหัวข้อที่แตกนั้นอาจมีการขยายอีก จะต้องกำหนดประเด็นขึ้นมา หัวข้อไหนเป็นหัวข้อหลัก หัวข้อไหนรอง หลังจากนั้นอาจารย์ก็กำหนดหัวข้อมาให้คือ เรื่องของ ไก่ อาจารย์ก็ได้ร่วมกำหนดหัวข้อขึ้นมาว่าถ้านึกถึงไก่ เราจะนึกถึงอะไรบ้าง เช่น ชนิดของไก่ ลักษณะ ซึ่งก็จะมีข้อย่อยลองลงมาก็คือ สี ปีก ขา ที่อยู่อาศัย อาหาร  และประโยชน์
จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาลองทำเอง แล้วอาจารย์ก็มาวิจารณ์ และให้คำแนะนำทีละคน ว่าต้องมีการแก้ไขตรงไหน ส่วนใดที่ใช้ไม่ได้ เพื่อให้เรารู้ข้อบกพร่องที่ต้องแแก้ไขของตนเอง
        และสุดท้ายอาจารย์ก็ได้ฝากงานไว้หนึ่งชิ้น คือการทำแผ่นพับรายงานผู้ปกครอง เป็นการแจ้งให้ผู้ปกครองทราบว่าขณะนี้คุณครูกำลังสอนเรื่องใด และเป็นการให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาบุตรหลานของท่าน

ภาพในการทำกิจกรรม















การประเมิน

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆมีการยอมรับในข้อผิดพลาดและมีการปรับปรุงแก้ไข

ประเมินตนเอง  เข้าใจและเรียนรู้ในการเขียนแผนผังความคิดมากขึ้น ยอมรับในข้อวิจารณ์เพื่อการนำกลับมาแก้ไข

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ให้ความรู้จนคาบสุดท้าย มีการทุ่มเทในการให้ความรู้ที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น