วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันศุกร์ ที่ 25 มกราคม พ.ศ 2562


ความรู้ที่ได้รับ 
                         
                          กิจกรรมที่1
                      
                             อาจารย์ให้กระดาษขาวเทาแผ่นใหญ่ มาตัดแบ่งครึ่งกับเพื่อนหนึ่งแผ่น แล้วตัดแบ่งให้ได้4คน เพื่อที่จะทำสื่อสำหรับการเรียนวันนี้

                          อุปกรณ์
1.กระดาษขาวเทาแผ่นใหญ่
2.กรรไกร
3.มีดคัตเตอร์
4.สีเมจิก
5.ดินสอ
6.ไม้บรรทัด

                            ขั้นตอนการทำ
 1.นำกระดาษขาวเทาแบบแข็งแผ่นใหญ่มาตัดแบ่งครึ่งซึ่งจะได้ทั้งหมด 4 คน หรือ 4 แผ่นเท่าๆกัน 

 2.นำมาวัดขีดแบ่งช่องเป็นแนวนอน 10 ช่อง แนวตั้ง 4แถว วัดช่องละ 2 นิ้ว  แล้วตัดออกซึ่งได้ทั้งหมด 2 ชุด  ชุดละ 2 แถว

3.นำกระดาษขาวเทาที่เหลือในส่วนที่ตัดออกเพื่อที่จะมาทำส่วนต่อไป ซึ่งนำกระดาษที่ขีดเป็นช่องเสร็จแล้วนำมาวางแนบเป็น 3 ช่อง 2 แถว แล้วขีดเส้นนำไปตัดออกจำนวน 2 แผ่น และวัด 2 นิ้ว 2 ช่อง ขีดลงมาตามความยาว สามารถใช้สีเมจิกขีดเพื่อให้เห็นเส้นความชัดเจนของช่อง

4. นำกระดาษกาวย่นติดข้างหลังกระดาษแผ่นที่ตัดคือ แผ่นยาวกับแผ่นเล็กให้เชื่อมติดกัน ทำแบบนี้ทั้ง 2 ชุด แล้วนำเทปใสมาติดข้างหน้าระหว่างรอยเชื่อมเหมือนเดิมสามารถพับได้

5.เขียน สิบ  หน่วย ในช่องของแผ่นเล็ก

6.นำกระดาษขาวเทาที่เหลือมาขีดวัดช่องเพื่อจะเขียนตัวเลข  0-9  โดยวัดช่องละ 2 นิ้ว จำนวน 10 ช่อง แล้วแต่ละช่องแบ่งครึ่งเป็น 1 นิ้ว ได้ทั้งหมด 20 ช่อง เขียนตัวเลข นำไปตัดออกจะได้ทั้งหมด ชุดละ 10 ชิ้น จำวนตัวเลข 0-9 เป็น 2 ชุด

 7.นำกระดาษที่เขียนตัวเลข 0-9 ที่ตัดเป็นชิ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาวางไว้ที่ช่อง สิบ  หน่วย

............................................

                    กิจกรรมที่2

 1. อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม  2 กลุ่มเพื่อที่จะทำกิจกรรมวิธีสอนคณิตศาสตร์ด้วยดินน้ำมัน ซึ่งได้กลุ่มละ 13 คน และ 14 คน

2. อาจารย์ให้ปั้นดินน้ำมันเป็นผลไม้มาคนละ  1 ชนิด อะไรก็ได้ซึ่งแต่ละคนจะได้ดินน้ำมันคนละสี ต้องปั้นขนาดเล็กตกแต่งให้สวยงาม  การปั้นเป็นผลไม้เพื่อจะนำไปสู่การสอนคณิตศาสตร์

3.เมื่อทุกคนปั้นเสร็จอาจารย์ให้บอกชื่อผลไม้ที่ตนเองปั้นและบอกคำศัพท์ภาษาอังกฤษของผลไม้นั้น  
            

      หลังจากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปหยิบสื่อที่เราทำเสร็จแล้วในกิจกรรมที่ 1 นำมากลุ่มละ 1 ชุด ได้นำมาวางไว้ตรงกลางเพื่อที่จะสามารถมองเห็นได้ทุกคนแล้วนำผลไม้ที่แต่ละคนได้ปั้นมาเรียงในช่องของสื่อได้ทั้งหมด  13ผล ซึ่งอาจารย์ได้ถามว่าเมื่อเราสอนคณิตศาสตร์เด็กจะได้อะไรบ้าง จะได้เรื่องรูปทรง  การนับจำนวน  การบอกจำนวน  แล้วเราสามรถนำตัวเลขมาวางไว้บนผลไม้เพื่อได้บอกจำนวนของผลไม้ 
            อาจารย์ให้นำสื่อชุดที่  2  มาวางแล้วแบ่งผลไม้ออกเป็น 2  กลุ่ม ซึ่งเราจะแบ่งได้นั้นต้องใช้เกณฑ์ในการแบ่ง  กลุ่มหนูใช้เกณฑ์ผลไม้ที่เป็นรูปทรงกลม ได้กลุ่มละ  7 ผล และ 5 ผล สามารถสอนในเรื่องของการบวกลบได้ เรายังไม่เหมาะสมกับการสอนเด็กปฐมวัยเพราะเป็นนามธรรม เราสามารถทำได้โดยการนำผลไม้หยิบออกครั้งละ  1  ผล  เมื่อเราแบ่งเป็น 2 กลุ่ม อยากทราบว่าอันไหนมากกว่ากัน ใช้วิธีการหยิบออก 1 ต่อ 1 วิธีการวางคือเรียงจากซ้ายไปขวาเมื่อแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่มอีกครั้ง ใช้เกณฑ์ผลไม้ที่มีสีเขียว  ได้กลุ่มละ  7 ต่อ 4 ผล
             หลังจากนั้นเมื่อเสร็จกิจกรรมได้เก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อยแล้วมานั่งรวมกันเป็นครึ่งวงกลมเหมือนเดิมเพื่อที่จะพูดคุยว่าวันนี้เราได้อะไรบ้าง 
           การใช้เกณฑ์ของหลักคณิตศาสตร์คือการนำมาเป็นตัวในการพิจารณาสำหรับเด็กไม่ควรใช้หลายเกณฑ์ อย่างเช่น ผลไม้ที่มีสีเขียว เด็กใช้ทักษะการสังเกตเชื่อมโยงกับเกณฑ์เกิดการเปรียบเทียบ เมื่อนำออกทำให้ลดลงหรือน้อยลง  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำส่งข้อมูลไปยังสมองแล้วซึมซับ เหมือนน้ำที่แตกกระจายพอเจอสิ่งใหม่บางอย่างเหมือนความรู้เดิมทำให้เกิดเป็นสิ่งใหม่
                     

           บรรยากาศในห้องเรียนและขณะทำกิจกรรม







                  คำศัพท์

1.Molding clay                   ปั้นดินน้ำมัน
2.Number                         ตัวเลข
3.Round  shape                 รูปทรงกลม
4.Count                            จำนวนนับ
5.Assimilation                   การดูดซึม.
6.strawberry                    สตรอเบอรี่
7.Rambutan                     เงาะ
8.Manila tamarind             มะขามเทศ
9.coconut                          มะพร้าว
10.Rose apple                     ชมพู่

                การประเมิน
ประเมินตนเอง - เป็นการเรียนที่สนุกเพราะแต่ละกิจกรรมไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอาจารย์จะให้ทำอะไรและรูปร่างจะออกมาแบบไหน ทำให้ต้องตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สั่งและแนะนำ

ประเมินอาจารย์ - อาจารย์มีเทคนิคในการให้นักศึกษาหาคำตอบเองก่อนแล้วจึงจะเฉลย เป็นการฝึกสมองให้นักศึกษาคิดก่อน จึงทำให้ทราบว่าในการจะสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กจะต้องค่อยเป็นค่อยไป

ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆตั้งใจในการทำกิจกรรม ให้ความร่วมมือและช่วยเพื่อนที่ยังไม่เสร็จ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น