วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ 2562

ความรู้ที่ได้รับ 
          อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดของรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าเราจะเรียนเรื่องอะไรบ้าง รวมถึงงานที่อาจารย์ได้มอบหมายในรายวิชานี้ ทำให้เราได้มีการเตรียมตัว  และในรายวิชานี้ทุกคนต้องมี Blogger ของตนเอง จะต้องมีบันทึกลงทุกครั้ง รวมทั้งการจดคำศัพท์ 10 คำและมีการประเมินในห้องเรียน
      จากนั้นอาจารย์ก็พูดถึงรายละเอียดของบล็อกและได้บอกว่าควรไปปรับหรือแก้ไขตรงไหนบ้างทำให้ทุกคนได้รู้ของตนเองเพื่อเป็นแนวทางการแก้อย่างถูกต้อง อย่างเช่น ชื่อและคำอธิบายบล็อก รูปและข้อมูลผู้เรียน ปฎิทินและนาฬิกา เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอน หน่วยงานสนับสนุน แนวการสอน งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์  บทความ ตัวอย่างการสอน สื่อคณิตศาสตร์ ลิงก์บล็อกของเพื่อนไว้ทุกคน

กิจกรรมMapping

         อาจารย์ให้แยกออกมาเป็น 3 หัวข้อหลัก ดังนี้  การจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์ เด็กปฐมวัย  แต่ละหัวข้ออาจารย์ได้บอกแนวทางและช่วยกันคิด  


บรรยากาศในห้องเรียน

  อากาศเย็นสบาย แต่ปวดหลังนิดหน่อย อยากให้มีโต๊ะเรียน

คำศัพท์

1. Experience  arrangement       การจัดประสบการณ์
2. Brain  function                      การทำงานของสมอง
3. Development                        พัฒนาการ
4. Geometry                             รูปทรงเรขาคณิต
5. Early  childhood                    เด็กปฐมวัย
6. Learning                               เรียนรู้
7. Nature                                  ลักษณะ
8. Comparison                          การเปรียบเทียบ
9. Mathematics                         คณิตศาสตร์
10.Learning  by doing                การเรียนรู้โดยลงมือกระทำ








วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการสอนครั้งที่ 1 11 มกราคม 2562


สรุปวิจัย

เรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา
ผู้จัดทำ สุมารีย์ ไชยประสพ
  อาจารย์ที่ปรึกษา วชิรา เครือคำอ้ายและ ชไมมน ศรีสุรักษ
สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน
      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเกมการ ศึกษาของนักเรียน โรงเรียนโป่งน้ำร้อนวิทยา นักเรียนระดับปฐมวัยชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 พบว่า นักเรียนระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนโป่งน้ำร้อนวิทยา มีผล การเรียนโดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินโดยมี ร้อยละของคะแนนเต็มเท่ากับ 86.37 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ร้อยละ 75 ที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ นักเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้เท่ากับ 5.73 คะแนนเฉลี่ยหลัง การจัดกิจกรรมเท่ากับ 9 คะแนนเฉลี่ยความ ก้าวหน้าเท่ากับ 3.72 คิดเป็นร้อยละความ ก้าวหน้าเท่ากับ 32.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ กำหนดคือต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของ คะแนนเต็ม สำหรับการสังเกตพฤติกรรมพบว่า นักเรียนมีความสนใจ มีความตั้งใจ มีความ กระตือรือร้น ในการปฏิบัติกิจกรรมเกมการ ศึกษา สื่อการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่ผู้วิจัย นำมาให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมนั้นนักเรียนมี ความสนใจเป็นอย่างมากจะซักถามตลอดเวลา นักเรียนส่วนใหญ่ปฏิบัติตามคำสั่งได้ดี การให้ ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเกมการศึกษาฯ ไม่ว่ากิจกรรมเดี่ยวหรือกิจกรรมกลุ่มนักเรียน ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีนักเรียนส่วนใหญ่ มีการแสดงความคิดเห็นซักถามในขณะการ ทำกิจกรรมของกลุ่มตนเองและส่วนมากจะ ถามปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม เกมการศึกษาและซักถามเกี่ยวกับสื่อในการ ทำกิจกรรมเกมการศึกษา และจะตอบคำถาม เกี่ยวกับเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ พฤติกรรม ต่าง ๆ ที่นักเรียนแสดงออกเป็นผลมาจาก การจัดกิจกรรมของผู้วิจัยได้ออกแบบเพื่อ ให้สอดคล้องกับวุฒิภาวะ และสอดคล้องกับ พัฒนาการของนักเรียนตามศักยภาพของ นักเรียนแต่ละคน ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน นักเรียนความสุขสนุกสนานกับการ ทำกิจกรรมเกมการศึกษา การพัฒนาทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดย ใช้กิจกรรมเกมการศึกษาโรงเรียนโป่งน้ำร้อน วิทยา โดยผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมของนักเรียนเมื่อถึงเวลาทำกิจกรรม นักเรียนจะมีความกระตือรือร้นตั้งใจปฏิบัติ กิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในกิจกรรมเกมการ ศึกษาและนักเรียนยังได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความมีวินัยในการทำกิจกรรม มีความรับผิดชอบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความประหยัด ทำให้นักเรียนมีสมาธิในการทำกิจกรรมเกมการศึกษาฯ ส่งผลให้นักเรียนทุก คนบรรลุถึงจุดประสงค์ที่ตั้งไว้และคุณลักษณะ ที่พึงประสงค

อ้างอิง  file:///C:/Users/Administrator/Downloads/96545-Article%20Text-240781-1-10-20170818.pdf

สรุปบทความเรื่องหลักการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยควรเปิดโอกาสให้เด็ก "กระทำ" กล่าวคือ จัดกระทำหรือมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ สิ่งแวดล้อม และบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากในวัยนี้การเริ่มต้นจากสิ่งที่เป็นนามธรรมก่อนนั้นเด็กจะเรียนรู้ด้วยความยากลำบาก จึงต้องสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม จากสิ่งง่าย ๆ ใกล้ตัวหรือในชีวิตประจำวันจะทำให้เด็กสนุก มีความสุขกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นการขยายประสบการณ์เดิมให้สัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับตามความสามารถของเด็กแต่ละคน

ตัวอย่างสื่อการสอน


อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=Dtiu5UhFdA4
สื่อการสอนคณิตศาสตร์

อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=8NectN_UB8Q